วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

การประกวด"สวนถาด"

การแข่งขันการจัดสวนถาด        
  1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน                   
1.1 นักเรียนระดับชั้น ป. 4-6
1.2 นักเรียนระดับชั้น ม. 1-3
                
1.3 นักเรียนระดับชั้น ม. 4-6         
 2. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน                   
2.1 แข่งขันประเภททีม ๆ ละ 3 คน                   
2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขัน                          
 1. นักเรียนระดับชั้น ป. 4-6 จำนวน 1 ทีม                          
2. นักเรียนระดับชั้น ม. 1-3 จำนวน 1 ทีม                          
 3. นักเรียนระดับชั้น ม. 4-6 จำนวน 1 ทีม         
3. วิธีดำเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน                   
3.1 ส่งรายชื่อผู้เข้าแข่งขันพร้อมครูผู้ฝึกสอนทีมละ 1 คน                   
 3.2 ผู้เข้าแข่งขันต้องพร้อมในสถานที่แข่งขันก่อนการแข่งขันไม่น้อยกว่า 10 นาที                   
3.3 ผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์การแข่งขันมาเอง ได้แก่                         
1) อุปกรณ์การเขียนแบบ 1 ชุด                          
2) พันธุ์ไม้วัสดุประกอบ                         
3) ภาชนะที่ใช้จัด                         
4) ภาชนะฉีดน้ำ                    
 3.4 ให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนแบบการจัดสวนให้เสร็จก่อนลงมือจัดโดยคณะกรรมการ
        
จัดเตรียมกระดาษเขียนแบบไว้ให้ทุกทีม                   
3.5 ลักษณะของภาชนะที่ใช้เป็นจานรองกระถางหรือถาดทรงกลมชนิดเคลือบหรือ  
       ไม่
เคลือบก็ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 – 15 นิ้ว                   
3.6 พันธุ์ไม้และวัสดุประกอบ                         
1) เป็นพันธุ์ไม้ที่ใช้จัดสวนถาดแบบชื้น ไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด                        
2) วัสดุประกอบ เช่น หิน กรวด ไม้ หรืออื่น ๆ ให้คำนึงถึงความหลากหลาย
ไม่จำกัดความคิดสร้างสรรค์ และเน้นวัสดุธรรมชาติ                         
3) วัสดุปลูก มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้                    
3.7 ใช้เวลาในการแข่งขัน 2 ชั่วโมง (รวมเวลาที่ใช้เขียนแบบ)                    
3.8 อุปกรณ์ที่จัดให้ ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ ทีมละ 1 ชุด กระดาษเขียนแบบการจัดสวน                    
3.9 การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด           




4. เกณฑ์การให้คะแนน 100 คะแนน                     
4.1 การเตรียมงาน (20 คะแนน)                               
1) การเขียนแบบ 10 คะแนน                               
2) การเลือกใช้พันธุ์ไม้ วัสดุ 10 คะแนน                     
4.2 กระบวนการทำงาน (30 คะแนน)                              
1) ขั้นตอนและความร่วมมือในการปฏิบัติงาน 10 คะแนน                              
2) ความสะอาดเรียบร้อยในการปฏิบัติงาน 10 คะแนน                              
3) ทำงานทันตามกำหนดเวลา 10 คะแนน                     
4.3 ผลงาน (50 คะแนน)                              
1) ความประณีต 10 คะแนน                              
2) ความสมดุล 10 คะแนน                              
3) ความกลมกลืนและสวยงาม 15 คะแนน                              
4) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 15 คะแนน             
5. เกณฑ์การตัดสิน                     
ร้อยละ 80 – 100 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง                     
ร้อยละ 70 – 79 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน                     
ร้อยละ 60 – 69 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง                    
ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการมีความเห็นเป็นอย่างอื่น
 
6. คณะกรรมการการแข่งขัน                    
6.1 กรรมการควบคุมการแข่งขันจำนวนตามความเหมาะสม                    
6.2 กรรมการตัดสินกิจกรรมละ 3– 5 คน             
คุณสมบัติของกรรมการ                    
- บุคลากรในท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางเหมาะสมกับกิจกรรม                    
- ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางเหมาะสมกับกิจกรรม                    
- บุคลากรในสังกัดอื่น ๆ เช่น อาชีวศึกษา/ วิทยาลัย /มหาวิทยาลัยราชภัฎในพื้นที่           
ข้อควรคำนึง                   
- กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน                   
- กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน                   
- กรรมการควรมีที่มาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นอย่างหลากหลาย                   
- กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3         
สถานที่ในการแข่งขัน
ลานกิจกรรม / อาคารเอนกประสงค์ หรือสถานที่อื่นตามความเหมาะสม                                               

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีการดูแลรักษาสวนถาด

   1.กลุ่มไม้ที่มักชอบแสงแดดจัด

ไม้ดอกล้มลุก พืชสวนครัว ควรจัดวางไว้ในที่ได้รับแสงตลอดวันหรืออย่างน้อยครึ่งวัน ภาชนะ
ต้องมีรูระบาย น้ำดีรดน้ำวันละ 1ครั้ง หรืออาจเพิ่มรอบเย็นอีกครั้ง ถ้าสังเกตว่าดอกหรือใบมีอาการสลด
เหี่ยวเฉาอาจใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม ถ้าไม่ได้ใส่ไว้ตั้งแต่แรกจัดควรเป็นปุ๋ยหมัก ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีให้ใส่เพียงเล็ก
น้อยเพราะในสวนถาดมักมีเนื้อดินน้อย ปุ๋ยเคมีที่มากเกินไปจะทำให้ดินเค็ม ต้นไม้อาจเฉาหรือตายได้
ใบที่เหี่ยวเฉาแก่เหลือง รวมทั้งดอกโรยทิ้งบ่อยๆ
ส่วนปุ๋ยพวกปลดปล่อยช้ามัก มีอายุนานอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป เติมเมื่อครบอายุการใช้งานควรตัดแต่ง

        ไม้น้ำ ก็ชอบแสงแดดจัดเช่นกัน มิฉะนั้นจะไม่ผลิดอก ควรหมั่นเติมน้ำให้

เพียงพออยู่เสมอ กำจัดหอยหรือแมลงที่มากัดกินใบ โดยหมั่นเก็บออกบ่อย ๆ ช้อน
ตะไคร่น้ำหรือสิ่งสกปรกออกทิ้งดูแลให้น้ำใสอยู่เสมอ ถ้าในภาชนะนั้น ๆไม่มีเครื่อง
ปั๊มน้ำสำหรับทำน้ำพุ น้ำตก เราควรโรยทับผิวดินปลูกด้วยทรายหยาบ ตกแต่งด้วย
กรวดหรือวางหินประดับ แต่ถ้าน้ำค่อนข้างนิ่ง เพราะไม่มีน้ำตก น้ำพุที่คอยทำให้น้ำ
เคลื่อนไหว อาจเกิดตะไคร่จับเขียวตามผิวก้อนหิน กรวดหรือผิวภาชนะภายใน ถ้าไม่ชอบต้องหมั่น
เก็บออกมากขัดหรือถ่ายน้ำเพื่อขัดภาชนะให้สะอาด มียาเคมีสำหรับกำจัดตะไคร่เหล่านี้ แต่ต้องใช้
จำนวนพอเหมาะกับขนาดของภาชนะ ถ้ามีเด็กหรือสัตว์เลี้ยงไม่ควรใช้ยานี้เด็ดขาดเพราะอาจเผลอ
มาเล่นหรือกินน้ำจนเป็นอันตรายได้




2.กลุ่มไม้อวบน้ำ
        พวกแคคตัส ซัคคิวเลนท์และไม้ที่มีต้นใบอวบหนา ไม่ชอบน้ำขังจึงต้องปลูกในภาชนะที่มีรูระบาย
ดินโปร่งซุย ชอบ แสงแดด แต่ไม่ควรจัดถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ต้องพรางแสงให้บ้าง เหลือราว70-80 %
หรือจัดวางในที่ได้รับแสงแดดไม่ตลอดวัน ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดยามเที่ยง ไม้บางชนิดจะใบไหม้
แต่ต้องหมั่นหมุนให้รับแสงแดดทั่วๆกัน มิฉะนั้นต้นจะเอียงยืดและเอนไปทางเดียวกัน ฉีดน้ำหรือรดน้ำ
2-3 วันต่อครั้งหรืออาจเป็น 5 วันก็ได้ แล้วแต่ความเข้มอ่อนของแสงที่ได้รับสังเกตจากผิวหน้าดินปลูก
และการเติบโตที่ผิดปกติของต้นไม้ ถ้าได้น้ำมากไปลำต้นหรือใบจะมีรอยช้ำต่อไปจะเน่าถ้าได้แสงน้อย
เกินไป ลำต้นจะยืดและเอียง ดูเติบโตรวดเร็ว เพราะฉะนั้นถ้าปลูกไม้อวบน้ำรวมกับไม้ประเภทอื่น หรือ
ภาชนะที่ไม่มีรูระบายน้ำและปลูกไว้ภายในตัวบ้าน ก็ต้องเพิ่มการดูแลอย่างพิสดารเพิ่มขึ้น เช่น ฉีดน้ำ
เป็นจุดๆ ผสมกับการจำกัดน้ำ และการยกออกไปต้องแสงแดดอ่อนๆกลางแจ้งบ้างสลับกับการหมุนกระ
ถางรับแสงจากภายนอก
        
        ข้อสำคัญ อย่าทิ้งสวนถาดไม้อวบน้ำไว้กลางแจ้งในฤดูฝนเด็ดขาด ต้นไม้จะเน่า ถ้าจำเป็นเพราะโยกย้ายบ่อยๆไม่ไหว อาจต้องทำกระโจม หรือหลังคาใสจาก พลาสติกเป็นพิเศษควรให้อากาศถ่ายเทได้อย่าให้อับลมเพราะภายในจะเกิดความชื้นสูงไปเช่นกัน

3.กลุ่มไม้ที่ชอบแสงรำไรและกลัวยไม้


        ไม้กลุ่มนี้ชอบความชุ่มชื้นและแสงไม่จัดอาจตั้งไว้ในบ้านตรงมุมที่มีแสงส่องถึงจากหน้าต่างและหมั่นหมุนกระถางหรือถาดให้รับแสงทั่วๆกัน มิฉะนั้นต้นจะเอียงและยืดภาชนะปลูกจะมีรูระบายหรือไม่ก็ได้รดน้ำวันละครั้งก็เพียงพอ ถ้าจะตั้งไว้ภายนอกก็อย่าให้โดนแดดตลอดวัน   ควรวางไว้ในมุมที่ได้รับแสงอ่อนๆ โดยเฉพาะช่วงเช้า ถ้าจะใช้ปุ๋ยก็ควรเป็นปุ๋ยพวกปลดปล่อยช้าหรือให้ปุ๋ยน้ำ ฉีดให้ทางใบ
สวนถาดที่ปลูกเฟิร์นประกอบมากๆ   อย่าตั้งไว้ในที่มีแสงแดดจัดและมีลมพัดจัด  โดยเฉพาะพวก
เฟิร์นก้านดำและเฟิร์นที่บอบบางอื่นๆ ลมแรงนี้หมายถึงกระแสลมโดยตรงจากเครื่องปรับอากาศด้วยแต่เฟิร์นใบมะขาม  เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย เฟิร์นก้างปลา เฟิร์นทอง เฟิร์นบอสตันค่อนข้างทนทานกว่า  ตัดแต่งใบของไม้ที่ชอบแสงรำไรต่างๆนี้ออกทิ้งบ้าง ถ้าเหี่ยวเฉาหรือเหลืองแล้ว








วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการจัดสวนถาด

        การจัดสวนถาด ต้องคิดและทำเป็นข้นตอนตามลำดับก่อนหลัง จะทำให้การจัดสวนถาดแต่ละครั้นตอนสอดรับกัน ผลสุดท้ายก็จะได้สวนถาดตามที่ต้องการขั้นตอนการจัดทำได้แก่ กำหนดรูปแบบเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ เตรียมดินและดำเนินการจัดทำ

กำหนดรูปแบบ
        ขั้นตอนแรก ได้แก่ การกำหนดรูปแบบของสวนที่จะจัด โดยคิดรูปแบบที่จะจัด ว่าจะจัดสวนถาดแบบใด จะจัดแบบแจกัน แบบย่อทิวทัศน์ธรรมชาติ หรือแบบย่อเรื่องราว จากนั้นจึงตัดสินใจเลือกรูปแบบ ขั้นตอนต่อไปคิดรูปทรงหรือรูปรางหน้าตาของสวนที่จะจัดว่าควรมีรูปทรงอย่างไรเหมาะสมหรือไม่

เตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
        เมื่อได้กำหนดรูปแบบและรูปทรงของสวนที่จะจัด จะทำให้ผู้จัดมองเห็นโครงสร้างหรือโครงสวนถาด ทำให้รู้ว่าวัสดุอุปกรณ์หลักที่จะใช้ประกอบเป็นโครงสวนถาด ได้แก่อะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบเป็นโครงสวนน้ำตก ได้แก่หินรูปทรงต่าง ๆ ที่จะใช้ประกอบเป็นน้ำตก รากไม้แก่นไม้ที่คดโค้ง เพื่อให้มอสส์และเฟิร์นเกาะกี่ยวเจริญงอกงามจะต้องบันทึกรายการอุปกรณ์และจัดเตรียมให้เรียบร้อย โดยเฉพาะถาดต้องล้างให้สะอาด เพราะต้องนำมาใช้ในการวางโครงสวน ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดสวนถาดต้องเตรียมให้พร้อมที่จะใช้งาน

เตรียมดิน
        เมื่อกำหนดรูปแบบของสวนถาดไว้แล้ว และรู้ว่าจะใช้ต้นไม้อะไรบ้าง จึงต้องเตรียมดินที่จะใช้จัดสวนถาดเอาไว้ให้พร้อม และเหมาะสมกับต้นไม้ที่นำมาใช้จัดสวนถาด ส่วนผสมของดินเตรียมตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

ดำเนินการจัดทำ
        เมื่อได้กำหนดรูปแบบของสวน ได้จัดเตรียมอุปกรณ์และได้เตรียมดินไว้พร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปได้แก่ การจัดทำสวนถาด ดังนี้

1. พิจารณาขนาดวัสดุอุปกรณ์หลักและขนาดของถาดเพื่อจะได้รู้ว่าขนาดของอุปกรณ์หลักได้สัดส่วนกับขนาดของถาดหรือไม่ ถ้าไม่ได้สัดส่วนกันให้เปลี่ยนถาดใหม่ เพราะการจัดหาถาดทำได้ง่ายกว่าการจัดหาวัสดุอุปกรณ์หลัก วัสดุอุปกรณ์หลัก เช่น หิน รากไม้ แก่นไม้และต้นไม้ที่จะใช้เป็นโครงสวน

2.พิจารณาขนาดของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้จัดในถาดเดียวกัน โดยพิจารณาว่าขนาดของวัสดุอุปกรณ์หลักแต่ละชิ้นได้สัดส่วนกันหรือไม่ ควรใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้สัดส่นกันในด้านของขนาด ถ้าขนาดไม่ได้สัดส่วนกัน เช่นเล็กใหญ่ต่างกันมาก ในกรณีเช่นนีต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์ใหม่

3.พิจารณาด้านรูปทรงของวัสดุอุปกรณ์หลัก วัสดุอุปกรณ์หลักที่นำมาประกอบเป็นโครงสวนต้องกลมกลืนกันในด้านรูปทรง รูปทรงจะกลมกลืนกันประมาณร้อยละ70-80และแตกต่างกันประมาณร้อยละ 30-20

4.วางโครงร่างของสวนถาด หมายถึงโครงสร้างใหญ่ของสวนเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงรายละเอียดทั้งหมดของสวนถาดการวางโครงสวนถาดทำได้หลายวิธี

        4.1รองก้นกระถางและใส่ดินในกระถาง โดยนำอิฐที่ทุบเป็นก้อนขนาดปลายนิ้วก้อยใช้รองก้นกระถางและปิดรูกระถาง
        4.2กำหนดมุมมองที่สำคัญที่สุด การจัดสวนถาดจึงต้องให้สวยงามมีความละเอียด ประณีต และสะอาดทุกด้าน
        4.3กำหนดตำแหนงจุดเด่น ให้จุดเด่นอยู่ตรงจุดสนใจและสัมพันธ์กับมุมมองที่สำคัญที่สุดใช้สิ่งใดเป็นจุดเด่นให้วางสิ่งนั้นตรงจุดนั้น



วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดสวนถาด


                     1. พลั่วมือสำหรับตักดิน เครื่องปลูกหญ้าหรือวัสดุอื่นๆ
                          
2. พลั่วเล็กๆ ไว้สำหรับปลูกต้นไม้ อาจจะดัดแปลงมา
    จากช้อนก็ได้
                         
 3. กรรไกรตัดกิ่งไม้ มีหลายขนาดให้เลือกตามความ
                                      เหมาะสม
 
4. กรรไกรตัดแต่งก้านดอกไม้และใบไม้
                                                           
5. กรรไกรตัดกระดาษหรือแผ่นพลาสติก 
                                                           
6. มีดคมๆหรือคัทเตอร์ ใช้ตัดแต่งกิ่งไม้ ฯลฯ
                                                           
7. คีมตัดลวดหรือคีมปากจิ้งจก
                                                          
 8. ปากคีบสำหรับหยิบจับวัสดุตกแต่งหรือต้นไม้เล็กๆ
                                                           
9. ลวดขนาดต่างๆ สำหรับดามต้นไม้ ช่อดอกกล้วยไม้
    หรือยึดต้นไม้กับหูกระเช้า ฯลฯ ( ควรเป็นลวดที่หุ้มพลาสติกสีน้ำตาล เขียว หรือพันด้วยเทปพันดอกไม้
เพื่อไม่ให้สีโดดออกมาจากต้นไม้และภาชนะ)
10. เทปพันก้านดอกไม้ (floral tape) สีเขียว หรือสี น้ำตาล  
11. แผ่นพลาสติกสีดำสำหรับบุรองภาชนะ (ใช้ถุงที่ค่อน
      ข้างหนา หรือแผ่นพลาสติกปูบ่อน้ำ)
                                                           
12. เลื่อยมือเล็กๆสำหรับเลื่อยตัดแต่งกิ่งไม้ 
      ขอนไม้ภาชนะสาน
                                                           
13. ขวดฉีดน้ำเพื่อไว้ฉีดล้างภาชนะและต้นไม้ให้สะอาด
      ตลอดจนใช้รดน้ำให้ต้นไม้  โดยเฉพาะต้นไม้เล็ก ๆ
       กล้วยไม้ฯลฯ
                                                           
14. ของตกแต่ง เช่น รูปปั้น ตุ๊กตาเซรามิก                        
                                                           
15. กาวใส กาวลาเท็กซ์ หรือกาวแทง (ซึ่งต้องใช้กับปืนยิงกาว)เพื่อใช้ติดของตกแต่งต่างๆ
กับภาชนะและสิ่งอื่น 
                                            
         16. เครื่องปั๊มน้ำขนาดเล็กสำหรับสวนถาดที่มีน้ำพุ น้ำตก
                        
        17. แป้นหมุน เพื่อสะดวกในการสำรวจดูมุมมองเวลาจัด 
              ช่วยผ่อนแรงการยกถาดหรือกระเช้าหมุนไปมา แต่จะ
              ไม่มีก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของผู้จัดเอง นอกจากนี้ 
              ได้แก่  พวกดินปลูก  เครื่องปลูก  กรวดหิน  
                                     วัสดุปิดผิว ดิน  ภาชนะพันธุ์ไม้ ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญในการ  
                                     จัดสวนถาด     

  หมายเหตุ ลวดพันก้านแล้วหรือหุ้มด้วยกระดาษย่น ตลอดจนเทปพันก้าน หาซื้อได้ตามร้านเครื่อง   เขียนหรือร้านขายอุปกรณ์การฝีมือทั่วไป 





อ้างอิง
http://www.triamudomsouth.ac.th/07_g/h%2040247/garden_006_2.html

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทและประโยชน์ของสวนถาด

สวนถาด คือ การจัดปลูกต้นไม้ลงในภาชนะขนาดเล็ก ให้เกิดความสวยงาม โดยใช้หลักศิลปะช่วยตกแต่ง สวนถาดต่างจาก บอนไซ คือ บอนไซ เป็นการจัดไม้ชนิดเดียวในกระถาง แต่สวนถาดใช้ต้นไม้กี่ต้นก็ได้ ไม่จำกัด และกี่ชนิดก็ได
แบบของการจัดสวนถาด

มี 2 ประเภทคือ
       
1.  สวนถาดที่มีลักษณะคล้ายการจัดแจกัน (Combination) 
        ได้แก่   การจัดกลุ่มไม้ดอก  กล้วยไม้  ไม้ใบ  หรือผสมสานกัน  ปลูกลงในภาชะที่ชอบ  
ไม่ว่าจะเป็นโลหะ เครื่องจักสาน  เครื่องเคลือบ  กระถางทรงต่าง ๆ เหมาะที่จะเป็นของขวัญ 
ของกำนัล  หรือใช้ตกแต่งสถานที่  โดยมีความทนทานกว่าดอกไม้สด  เมื่อต้นไม้เริ่ม
โตแน่นภาชนะ  ก็ย้ายไปปลูกในที่ใหม่ได้  อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับการเลือกใช้พันธุ์ไม้ด้วย  
การจัดสวนถาดในลักษณะนี้ทำให้เกิดความชำนาญในการใช้สีสัน  การเลือกรูปทรง 
เส้นสาย และสัดส่วนของต้นไม้  ความละเอียด  ความหยาบของใบ  การจัดวางจุดเด่น  
การเลือกภาชนะให้เข้ากับต้นไม้และรูปแบบการจัดวาง




            

2.  สวนถาดที่ย่อส่วนมาจากทิวทัศน์หรือเรื่องราว(Landscape)
         2.1  ย่อส่วนทิวทัศน์ภูเขาโดยใช้ก้อนหินจริง
       สวนถาดแบบนี้คล้ายการย่อส่วนทิวทัศน์ของภูเขา  ซึ่งอาจจงใจให้เป็นภาพของภูเขาขนาดใหญ่หรือมุมเล็ก ๆ ของก้อนหิน  ซึ่งมีต้นไม้ดอกไม้เล็ก ๆ ขึ้นแทรกอยู่  อาจมีตุ๊กตาสัตว์หรือคนจำลอง  รวมทั้งสะพาน  สิ่งก่อสร้าง  เรือ ฯลฯ ควรจัดลงในถาดที่ค่อนข้างตื้น
 

       2.2 เขามอ  หรือสวนถาดที่ก่อภูเขาขึ้นเอง
        เขามอ  ก็คือบอนไซชนิดหนึ่งซึ่งคนไทยนิยมเล่นกันมาตั้งแต่โบราณ  โดยมากมักก่อภูเทขึ้นเองด้วยหินขนาดเล็กสีน้ำตาล  ผิวมีรอยร่อง  เรียกว่า  หินเสี้ยน ในสมัยก่อนมักมีการก่อเขามอขนาดใหญ่สูงท่วมศีรษะ  เพื่อประดับวังหรือบ้าน  ปัจจุบันก็วมักอยู่ถาดเคลือบซึ่งอาจยกย้ายไปมาได้เหมือนสวนถาดอื่น ๆ แต่ก็ทำไม่ได้ง่ายนัก  เพราะค่อนข้างมีน้ำหนักมาก


         2.3  ย่อส่วนทิวทัศน์ทั่วไป
       สวนถาดลักษณะนี้ใช้ภาชนะได้ทุกประเภท  แต่ก็ควรมีความลึกพอที่จะบรรจุภาชนะปลูก  เพราะมักปลูกต้นไม้จริงประกอบ  สวนถาดแบบนี้ควรมีของตกแต่งที่เข้ากับเรื่องราว  เช่น  โอ่งดินเผา  อ่างน้ำ กระบวยไม้ไผ่  รางน้ำไหล  ฯลฯ     ส่วนเรื่องราวนั้น เราอาจผูกเรื่องขึ้นเองเป็นภาพชีวิตในชนบท  จากนิทานหรือนิยายปรัมปราตลอดจนีวิตในบ้าน  ชีวิตสัตว์ในป่าหรือทุ่งหญ้า  สวนถาดประเภทสุดท้ายนี้  น่าจะเป้นสื่อที่เปิดโอกาสใหด้ผู้จัดได้ใช้ความคิดฝันสร้างสรรค์อย่างหลากหลาย  และเป็นสิ่งที่เพลิดเพลิน สนุกสนาน  ตลอดจนใช้ศิลปะในการย่อส่วนให้ถูกสัดส่วนมากที่สุด



ประโยชน์ของสวนถาด
1.ใช้เป็นของขวัญ ของฝาก ของที่ระลึกในโอกาสสำคัญ มีราคาถูก และมีอายุยืน กว่าการให้ดอกไม้สด
2. มีคุณค่า ทางด้านจิตใจสูง เกิดความสุขจากการได้ใกล้ชิดธรรมชาติ
3. ทำเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว (ไม่รวยแต่สามารถพออยู่พอกินได้)
4. จัดเพื่อการศึกษาด้านการเกษตร เช่นศึกษาการเจริญเติบโตของพืช วิธีการขยายพันธุ์