วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการจัดสวนถาด

        การจัดสวนถาด ต้องคิดและทำเป็นข้นตอนตามลำดับก่อนหลัง จะทำให้การจัดสวนถาดแต่ละครั้นตอนสอดรับกัน ผลสุดท้ายก็จะได้สวนถาดตามที่ต้องการขั้นตอนการจัดทำได้แก่ กำหนดรูปแบบเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ เตรียมดินและดำเนินการจัดทำ

กำหนดรูปแบบ
        ขั้นตอนแรก ได้แก่ การกำหนดรูปแบบของสวนที่จะจัด โดยคิดรูปแบบที่จะจัด ว่าจะจัดสวนถาดแบบใด จะจัดแบบแจกัน แบบย่อทิวทัศน์ธรรมชาติ หรือแบบย่อเรื่องราว จากนั้นจึงตัดสินใจเลือกรูปแบบ ขั้นตอนต่อไปคิดรูปทรงหรือรูปรางหน้าตาของสวนที่จะจัดว่าควรมีรูปทรงอย่างไรเหมาะสมหรือไม่

เตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
        เมื่อได้กำหนดรูปแบบและรูปทรงของสวนที่จะจัด จะทำให้ผู้จัดมองเห็นโครงสร้างหรือโครงสวนถาด ทำให้รู้ว่าวัสดุอุปกรณ์หลักที่จะใช้ประกอบเป็นโครงสวนถาด ได้แก่อะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบเป็นโครงสวนน้ำตก ได้แก่หินรูปทรงต่าง ๆ ที่จะใช้ประกอบเป็นน้ำตก รากไม้แก่นไม้ที่คดโค้ง เพื่อให้มอสส์และเฟิร์นเกาะกี่ยวเจริญงอกงามจะต้องบันทึกรายการอุปกรณ์และจัดเตรียมให้เรียบร้อย โดยเฉพาะถาดต้องล้างให้สะอาด เพราะต้องนำมาใช้ในการวางโครงสวน ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดสวนถาดต้องเตรียมให้พร้อมที่จะใช้งาน

เตรียมดิน
        เมื่อกำหนดรูปแบบของสวนถาดไว้แล้ว และรู้ว่าจะใช้ต้นไม้อะไรบ้าง จึงต้องเตรียมดินที่จะใช้จัดสวนถาดเอาไว้ให้พร้อม และเหมาะสมกับต้นไม้ที่นำมาใช้จัดสวนถาด ส่วนผสมของดินเตรียมตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

ดำเนินการจัดทำ
        เมื่อได้กำหนดรูปแบบของสวน ได้จัดเตรียมอุปกรณ์และได้เตรียมดินไว้พร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปได้แก่ การจัดทำสวนถาด ดังนี้

1. พิจารณาขนาดวัสดุอุปกรณ์หลักและขนาดของถาดเพื่อจะได้รู้ว่าขนาดของอุปกรณ์หลักได้สัดส่วนกับขนาดของถาดหรือไม่ ถ้าไม่ได้สัดส่วนกันให้เปลี่ยนถาดใหม่ เพราะการจัดหาถาดทำได้ง่ายกว่าการจัดหาวัสดุอุปกรณ์หลัก วัสดุอุปกรณ์หลัก เช่น หิน รากไม้ แก่นไม้และต้นไม้ที่จะใช้เป็นโครงสวน

2.พิจารณาขนาดของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้จัดในถาดเดียวกัน โดยพิจารณาว่าขนาดของวัสดุอุปกรณ์หลักแต่ละชิ้นได้สัดส่วนกันหรือไม่ ควรใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้สัดส่นกันในด้านของขนาด ถ้าขนาดไม่ได้สัดส่วนกัน เช่นเล็กใหญ่ต่างกันมาก ในกรณีเช่นนีต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์ใหม่

3.พิจารณาด้านรูปทรงของวัสดุอุปกรณ์หลัก วัสดุอุปกรณ์หลักที่นำมาประกอบเป็นโครงสวนต้องกลมกลืนกันในด้านรูปทรง รูปทรงจะกลมกลืนกันประมาณร้อยละ70-80และแตกต่างกันประมาณร้อยละ 30-20

4.วางโครงร่างของสวนถาด หมายถึงโครงสร้างใหญ่ของสวนเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงรายละเอียดทั้งหมดของสวนถาดการวางโครงสวนถาดทำได้หลายวิธี

        4.1รองก้นกระถางและใส่ดินในกระถาง โดยนำอิฐที่ทุบเป็นก้อนขนาดปลายนิ้วก้อยใช้รองก้นกระถางและปิดรูกระถาง
        4.2กำหนดมุมมองที่สำคัญที่สุด การจัดสวนถาดจึงต้องให้สวยงามมีความละเอียด ประณีต และสะอาดทุกด้าน
        4.3กำหนดตำแหนงจุดเด่น ให้จุดเด่นอยู่ตรงจุดสนใจและสัมพันธ์กับมุมมองที่สำคัญที่สุดใช้สิ่งใดเป็นจุดเด่นให้วางสิ่งนั้นตรงจุดนั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น